นักกิจกรรมทางสังคม ชาวเชียงใหม่ โพสต์ข้อความถึงสล็อตแตกง่าย ฌอน บูรณะหิรัญ ว่ายังจำที่ ต้นไม้ที่ฌอนปลูก ได้ไหม? พร้อมระบุว่าใบไม่งอกสักใบ ตี๋ นาหยอด นักกิจกรรมทางสังคม ชาวเชียงใหม่ ได้โพสต์ข้อความและรูปภาพลงบน เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นภาพของสภาพความเสื่อมโทรม ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่เคยใช้ในการจัด ไปร่วมกิจกรรมปลูกป่า ในงาน Climate Festival @North เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ที่อ่างเก็บน้ำ ห้วยตึงเฒ่า อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
พร้อมข้อความที่ระบุว่า “ฌอน นายจำได้ไหม?? ป่าที่นายเคยมาปลูก ต้นไม้ที่นายเคยปลูกก็ยังไม่มีใบงอกมาสักใบเลย ผ่านไปเป็นปีแล้ว นายกลับมาดูแลบ้าง???”
โดยนาย ตี๋ ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวมติชน ว่าได้ถ่ายภาพดังกล่าวเมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา ปกติได้ขึ้นไปพื้นที่ดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง เพราะพื้นที่ดังกล่าว เรียกว่าเป็นที่พักผ่อนของคนในเชียงใหม่แห่งหนึ่ง
ก่อนหน้าจะมีโครงการปลูกป่านั้น พื้้นที่ตรงนี้เป็นป่ารกๆ โดยมีพื้นที่ไม่เสมอกัน ก่อนที่จะถูกไถ่ดินให้เท่ากันเป็นแนวยาว และมีโครงการปลูกป่า โดยถูกปล่อยไว้เช่นนี้ มีคนมาไถๆให้ไม่ดูรกบ้าง ซึ่ง ตี๋ มองว่า สำหรับตัวเองแล้ว อยากให้เป็นแบบเดิมมากกว่า หากทำแล้วได้เท่านี้ เพราะสามารถนำงบประมาณไปทำอะไรอย่างอื่น ที่เป็นประโยชน์จะดีกว่านี้ได้
ตี๋ ยังทิ้งท้ายว่า อยากสะท้อนว่าการทำอะไรแบบนี้มันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร งบประมาณจากภาษี ประชาชน ควรใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ประชาชน ไม่ใช่เพื่อการสร้างภาพ เสร็จแล้วก็ไม่ได้กลับมาดูแล อยากให้คนตระหนักเรื่องภาวะโลกร้อน และหันมารักษาสิ่งแวดล้อมปลูกต้นไม้ โดยเกิดจากจิตสำนึก ไม่ใช่แค่เพื่อการสร้างภาพให้ดูดี บนซากของความล้มเหลว และไม่ได้แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ย้อนกลับไปเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นาย ฌอน บูรณะหิรัญ ได้ขึ้นไปถ่ายคลิป “ปลูกไม้กับท่านประวิตร” และระบุว่า พลเอก ประวิตร เป็นผู้ใหญ่ที่น่ารัก จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และนำไปสู่คดีฟ้องร้องเรื่องเงินบริจาคตามมา
ก.อุต คุมเข้มมาตรการสกัด ฝุ่น PM 2.5 สั่งตรวจสอบ โรงงาน ทั่วประเทศ
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กำชับทุกหน่วยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไข ฝุ่น ละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) พื้นที่ กทม.และปริมณฑลในระยะเร่งด่วน สั่งตรวจสอบ-บังคับใช้กฎหมายใน โรงงาน ควบคุมมลพิษ ชงมาตรการจูงใจหนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมอัดโปรสินเชื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจรปีงบประมาณ 2562-2564 รวม 6,000 ล้านบาท
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการรายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ของรัฐบาลที่ได้บูรณาการความร่วมมือจากหลายฝ่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไว้ทั้ง 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และภาคเกษตรอุตสาหกรรม ทั้งมาตรการเร่งด่วนและมาตรการระยะยาว
โดยในส่วนของมาตรการเร่งด่วนในภาคอุตสาหกรรม ให้ตรวจสอบ เฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายกับโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะโรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ หรือแหล่งกำเนิดความร้อน และอุปกรณ์การเผาไหม้ในพื้นที่ กทม. และจังหวัดปริมณฑล พร้อมกับขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ตรวจสอบ ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ ให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ
รวมถึงการปรับแผนการผลิตและขอความร่วมมือให้มีการติดตั้งระบบตรวจสอบ การระบายมลพิษอากาศแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง (CEMS) และเชื่อมโยงข้อมูลมายังกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) รวมทั้ง การปรับแต่งการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากหม้อน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้และลดปัญหามลพิษทางอากาศ และสำหรับในระยะยาวจะดำเนินการขยายผลการติดตั้งระบบตรวจสอบการระบายมลพิษอากาศแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง (CEMS)
โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลให้ครอบคลุมพื้นที่และประเภทการประกอบกิจการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมจำพวก 3 เตาเผาที่มีการใช้เชื้อเพลิง ชีวมวล และหม้อน้ำตามขนาดที่กำหนด รวมถึงการทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานให้เข้มงวดมากขึ้น ตลอดจนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการออกกฎหมายรายงานการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (PRTR)
มาตรการในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้จัดทำมาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าผ่านมาตรฐานที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า ที่ประกาศใช้แล้ว 37 มาตรฐาน จากทั้งหมด 63 มาตรฐาน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2564สล็อตแตกง่าย